วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วัน อังคาร ที่ 1 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2559

บรรยากาศในชั้นเรียน
     ก่อนเริ่มกิจกรรมก็มีการพูดคุยสนทนาก่อนเรียน ครูขอชมคลิปประดิษฐ์ของเล่นของแต่ล่ะกลุ่ม ที่ไดสั่งไว้เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว และหลังจากชมเสร็จก็ติชมและเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อให้นำไปปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป หลังนั้นครูก็สอนเรื่องมารตรฐานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มล่ะ 5 คน ทำ Mind Map ของตนเองที่เป็นหัวข้อย่อยให้นำไปเขียนแผนการจัดประสบการณ์ 3 กิจกรรมคือ กิจกรรม เคลื่นไหวและจังหวะ  เสริมประสบการณ์  สร้างสรรค์ ดังนี้ 

EX: ดอกไม้ มีองค์ประกอบดังนี้
      1.ประเภท
      2.ลักษณะ (ชนิด)
      3.ปัจจัย
      4.ประโยชน์ (ทางตรง และ เชิงพาณิชย์)
      5.การดูแลรักษา

ประโยชน์ของดอกไม้ เขียนแผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ (คุกกิ้ง)  เป็นต้น

  - กิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้ ครูให้นักศึกษานำเสนอวิดีโอการทำของเล่น
วิทยาศาสตร์ที่อัพโหลดลง Youtube นำเสนอหน้าชั้นเรียน

ภาพกิจกรรมแรก

หลอดมหัศจรรย์

รถพลังงานลม

คานดีดจากไม้ไอติม

กลุ่มของดิฉัน ขวดน้ำนักขนของ

          เมื่อนำเสนอครบทุกกลุ่มแล้ว อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมในการทำคลิปวิดีโอ เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขใหม่  ครูได้อธิบายเกี่ยวกับการทำแผ่นชาร์ต ที่ต้องคำนึงถึงพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ดังนี้

1. ด้านร่างกาย
    - การเคลื่อนไหว <ความสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อกับอวัยวะ>
    - สุขภาพอนามัย
    - การเจริญเติบโต

2. ด้านอารมณ์และจิตใจ
    - การแสดงออกทางความรู้สึก
    - การรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น

3. ด้านสังคม
    - การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
    - การช่วยเหลือตนเอง

4. ด้านสติปัญญา
    - การคิด
    - ภาษา

ภาพกิจกรรม



ภาพการระดมความคิดของแต่ละกลุ่ม

     กิจกรรมต่อมาครูให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม นั่งเป็นวงกลม ช่วยกันระดมความคิดการจัดทำแผนการสอนของหน่วยตนเอง นำหน่วยการสอนมาบรูณาการวิชาวิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์
ทักษะ
  • การสังเกต
  • การจำแนก
  • การวัด
  • การคำนวณ
  • ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสของวัตถุกับเวลา
  • การจัดกระทำ
  • การสื่อความหมายข้อมูล การพยากรณ์

สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1. 1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบ ต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่ง มีชีวิต
มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2. 1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ ประโยชน์
มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้อง ถิ่นอย่างยั่งยืน

สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3. 1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4. 1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 5 พลังงาน
มาตรฐาน ว 5. 1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6. 1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7. 1 เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 7.2 เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากร ธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและ สิ่งแวดล้อม

สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8. 1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

ภาษา
  • ฟัง
  • พูด
  • อ่าน
  • เขียน
ศิลปะ
  • วาดภาพ ระบายสี
  • ฉีก ตัด ปะ
  • ปั้น
  • ประดิษฐ์
  • เล่นกับสี
  • พิมพ์
สังคม
  • การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • การมีมารยาท
  • การช่วยเหลือตนเอง
สุขศึกษา พลศึกษา
  • การเคลื่อนไหว
  • สุขภาพอนามัย
  • การเจริญเติบโต

     หลังจากนั้น ครูให้นักศึกษาช่วยกันระดมความคิด เขียนแผนผังออกแบบกิจกรรม โดยกิจกรรมนั้นต้องมีความเหมาะสมกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก 6 กิจกรรมหลัก ดังนี้ 

6 กิจกรรมหลัก
  1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
  2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
  3. กิจกรรมสร้างสรรค์
  4. กิจกรรมเสรี
  5. กิจกรรมกลางแจ้ง
  6. กิจกรรมเกมการศึกษา

ความรู้ที่ได้รับ

       -ได้รู้เทคนิควิธีการสอนที่น่าสนใจและน่าปฏิบัติกิจกรรม โดยการสนทนาถามตอบก่อนเรียนจากนั้นตั้งประเด็นเพื่อให้เด็ได้คิดและตอบคำถาม ครูเป็นผู้จัดกิจกรรมแลอำนวยความสะดวกให้กับเด็กและนำเด็กปฏิบัติกิจกรรมให้บรรลุผลตามเป้าหมาย
       - ได้รูวิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และบูรณาการรายวิชาต่างๆอย่างเหมาะสมและยัง เชื่อมโยงกับกิจกรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรม มีเทคนิควิธีการที่หลากหลาย และน่าสนใจ สามารถนำไปพัฒนาต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทักษะ
1.ทักษะการสังเกต
2.ทักษะการตัดสินใจ
3.ทักษะการวิเคราะห์ตามคำแนะนำของครูผู้สอน
4.ทักษะการใช้ความคิดสร้างสรรค์
5.ทักษะการแยกประเภท
6.ทักษะการการนำเสนองาน
7.ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม

การนำมาประยุกต์ใช้
      สามารถนำเอาความรู้จากการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย ที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัย บูรณาการรายวิชาที่กำลังเรียนในสัปดาห์นั้นๆ  สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และสอดคล้องกับหน่วยที่เรียน 

เทคนิคการสอนของครู
1.สนทนาและบรรยายสอดแรกคุณธรรมจริยธรรม
2.สอนให้ใช้เหตุผลประกอบเนื้อหาการสอน และจับประเด็นสำคัญ
3.เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น

ประเมิณตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา ช่วยเพื่อนๆระดมความคิด และออกไปนำเสนองานร่วมกับเพื่อน ให้ความสนใจและตั้งใจทำกิจกรรมตั้งแต่ต้น จนจบกิจกรรม

ประเมิณเพื่อน : ตรงต่อเวลา ตั้งใจร่วมกิจกรรมแสดงความคิดเห็นร่วมกัน และนำเสนองานของกลุ่มตนเองได้ลุล่วง

ประเมิณอาจารย์ : ตรงต่อเวลา พูดคุยสอบถามก่อนทำกิจกรรม และคอย ให้คำแนะนำหลังจากที่จบการนเสนอเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไข 







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น